Archive for the blog Category
vc_row]
lifestyle.campus-star.com
พระราชพิธีพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ แน่นอนว่าเป็นพิธีที่สำคัญและค่อนข้างมีความซับซ้อน แต่สำหรับในอดีตมีความซับซ้อนยิ่งกว่า แต่เมื่อเวลาผ่านไป ธรรมเนียมใหม่ ๆ จากตะวันตกก็เริ่มเข้ามา พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงและยกเลิกหลายธรรมเนียมในพระราชพิธีพระบรมศพ ซึ่งธรรมเนียมดั้งเดิมที่พอสืบค้นพอสรุปได้ดังนี้
1. โกนผม
lifestyle.campus-star.com
ธรรมเนียมนี้เกิดขึ้นในยุคสมัยอยุธยา เชื่อกันว่าสืบทอดมาจากธรรมเนียมประเพณีของอินเดีย ที่มักจะโกนหัวเมื่อญาติผู้ใหญ่หรือมูลนายเสียชีวิต แต่เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ประชาชนจึงต้องโกนผมเพื่อไว้ทุกข์ แต่ได้ถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ตามประกาศของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ความว่า
“มีรับสั่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งได้สำเร็จราชการแผ่นดิน ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า สมเด็จพระบรมชนกนารถ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรพระโรคพระธาตุพิการมาแต่ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พระโรคกลายไปในทางพระวักกะพิการ แพทย์ได้ประกอบพระโอสถถวาย พระอาการหาคลายไม่ ถึง ณ วันเสาร์ ที่ ๒๒ ตุลาคม เสด็จสวรรคต เวลา ๒ ยาม กับ ๔๕ นาที จะได้เชิญพระบรมศพสู่พระโกษฐ์แห่จากพระราชวังดุสิต ไปประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม
ความเศร้าโศรกสาหัสอันบังเกิดขึ้นในพระบรมราชวงษ์ครั้งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงแน่ในพระหฤทัยว่า จะเปนความเศร้าโศรกแก่ประชาชนทั้งหลายทั่วไปในพระราชอาณาจักร เพราะเหตุที่สมเด็จพระบรมชนกาธิราชได้ทรงพระกรุณาทนุบำรุงมาทั่วกัน
อนึ่งตามโบราณราชประเพณี ในเวลาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จสวรรคต พระบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการ ราษฎรทั้งหลายต้องโกนผมแทนการไว้ทุกข์ทั่วทั้งพระราชอาณาจักร แต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนารถ ได้ทรงมีพระราชดำรัสสั่งไว้ว่า การไว้ทุกข์ดังเช่นที่กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมเปนเครื่องเดือดร้อนอยู่เป็นอันมากให้ยกเลิกเสียทีเดียว
ประกาศมา ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙”
2. นุ่งขาว นุ่งน้ำเงิน

lifestyle.campus-star.com
แต่เดิมแล้วการแต่งกายไว้ทุกข์ของไทยในสมัยก่อน ไม่ได้มีเพียงแค่สีดำเท่านั้น ในพระราชนิพนธ์ของ ‘ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล’ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์ที่ชื่อ ‘สีไว้ทุกข์ในสมัย ร.5’ ว่าแต่เดิมแล้ว ‘สี’ ของเครื่องแต่งกายสำหรับไว้ทุกข์มี 3 สี
สีดำ : สำหรับผู้ไว้ทุกข์ที่แก่กว่าหรือมีศักดิ์ที่สูงกว่าผู้ตาย
สีขาว : สำหรับผู้ไว้ทุกข์ที่มีอายุน้อยกว่าหรือมีศักดิ์ที่ต่ำกว่าผู้ตาย
สีม่วงหรือสีน้ำเงิน : สำหรับผู้ไว้ทุกข์ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับผู้ตาย
สำหรับพระราชพิธีพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ราษฎรจะต้องนุ่งขาวห่มขาวทั้งหมดเพื่อไว้ทุกข์ และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้ยกเลิกการแต่งกายสีม่วงและสีน้ำเงินไปเพื่อตัดความยุ่งยาก แต่การไว้ทุกข์ให้พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นยังคงใช้สีขาว แต่ในปัจจุบันการแต่งกายไว้ทุกข์ของไทยจะเน้นสีดำมากกว่าขาวล้วน เพราะเป็นธรรมเนียมที่ใช้ตามหลักสากลแบบตะวันตก
3. นางร้องไห้

lifestyle.campus-star.com
นางร้องไห้เป็นธรรมเนียมเก่าแก่ที่พบได้ทุกวัฒนธรรมทั่วโลก เช่น จีน อินเดีย มอญ กรีก โรมัน ออสเตรเลีย และไทย จะมีเฉพาะในงานพระบรมศพของราชวงศ์ชั้นสูง สำหรับพระมหากษัตริย์ นางร้องไห้มักจะเป็นท้าวนาง เจ้าจอม หรือนางข้าหลวงที่เสียงดีและหน้าตางดงาม
วิธีการร้องไห้ต้องใช้คนจำนวนมาก มีต้นเสียง 4 คน และมีคู่ร้องรับประมาณ 80-100 คน ครั้งสุดท้ายที่มีนางร้องไห้ ตามราชประเพณีคืองานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แต่ก็ต้องถูกยกเลิกไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกไว้ในหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ 6 เกี่ยวกับนางร้องไห้ว่า “ให้รู้สึกรกหูเสียจริง ๆ และร้องซ้ำไปซ้ำมา ไม่เป็นการร้องไห้จริง ๆ กับทั้งยังส่งเสียรบกวนเวลาที่พระกำลังถวายพระธรรมเทศนา” ท่านจึงบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า “ถึงงานศพฉันขออย่าให้มีนางร้องไห้เลย” เมื่อสวรรคต ด้วยความไม่เหมาะสมหลายประการจึงทำให้ธรรมเนียมนี้ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
4. การถวายรูด-ถวายพระเพลิงพระบุพโพกลางแจ้ง

lifestyle.campus-star.com
ในสมัยก่อนวิทยาการการแพทย์และการเผาศพยังไม่ทันสมัยนัก ไม่มีน้ำยารักษาสภาพศพ การจัดพระบรมศพให้สมเกียรติจึงมีขั้นตอนซับซ้อน ต้องมีการสุมเครื่องหอมดับกลิ่นพระบุพโพ (น้ำเหลืองน้ำหนอง) ตลอดงาน และต้องเจาะช่องบรรจุถ้ำเก็บพระบุพโพใต้ฐานพระโกศที่ประดิษฐานพระบรมศพ และมีมหาดเล็กคอยเทพระบุพโพตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาถวายพระเพลิง ก็ต้องเคี่ยวพระบุพโพในกระทะใบบัวแยกกับการถวายพระเพลิงบนพระเมรุ เป็นที่เล่าขานกันว่ากลิ่นการถวายพระเพลิงพระบุพโพนั้น เหม็นอย่างร้ายกาจ
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกเลิกการถวายพระเพลิงพระบุพโพกลางแจ้งด้วยวิธีการเคี่ยว แต่เปลี่ยนเป็นนำพระบุพโพบรรจุในลองเหล็กกล้าประดิษฐานใต้พระพุทธชินราชจำลองในวัดเบญจมบพิธแทน และใช้วิธีเผาในเตาเผาแบบสมัยใหม่
การถวายรูดก็ถูกยกเลิกไปเช่นเดียว เพราะเริ่มมีการฉีดฟอร์มาลีนทำให้พระมังสาแห้งติดกับพระบรมอัฐิ ไม่จำเป็นต้องชำระ ซึ่งถวายรูดหมายถึงการสำรอกเนื้อหนังมังสา เส้นเอ็นจากกระดูกโดยการต้มเคี่ยวเพื่อชำระ เตรียมการถวายพระเพลิงพระบรมศพ การถวายรูดครั้งสุดท้ายมีในงานพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
การส่งความอาลัยให้แก่ผู้วายชนม์ด้วยพวงหรีด ถือเป็นมารยาททางสังคมที่ทุกคนให้ความสำคัญค่ะ แต่เชื่อว่าในชีวิตนี้คงไม่ได้สั่งพวงหรีดกันบ่อยนัก ลูกค้าอาจจะเกิดคำถามในการสั่งพวงหรีดว่าควรเลือกพวงหรีดแบบไหนดี โทนสีไหนจึงจะเหมาะกับผู้วายชนม์ วันนี้ร้าน Lewreath™ จึงมีคำอธิบายเพื่อเป็นไกด์ในการเลือกพวงหรีดมาฝากกันค่ะ
1. พวงหรีดสำหรับไว้อาลัยเด็กผู้หญิง
พวงหรีดที่เหมาะสมกับการไว้อาลัยเด็กผู้หญิง คือพวงหรีดโทนสีชมพู ที่ให้ความอ่อนหวาน อ่อนโยน สดใส เสมือนเด็กผู้หญิงที่อายุยังน้อย ผู้มอบสามารถเป็นได้ทั้งคนใกล้ชิดกับผู้วายชนม์เอง หรือใกล้ชิดกับบุคคลในครอบครัวของผู้วายชนม์ก็ได้เช่นกัน
2. พวงหรีดสำหรับไว้อาลัยเด็กผู้ชาย
พวงหรีดที่เหมาะสมกับการไว้อาลัยเด็กผู้ชาย คือพวงหรีดโทนสีฟ้าเพราะสีฟ้าสื่อถึงความเข้มแข็ง ความหนักแน่นในความเป็นชาย จึงเหมาะสำหรับการไว้อาลัยผู้วายชนม์ที่เป็นเด็กผู้ชาย อายุยังน้อย ทั้งนี้ยังสามารถไว้อาลัยได้แทบทุกประเภท เพราะสีฟ้าเป็นสีที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สามารถช่วยบรรเทาความโศกเศร้าได้
3. พวงหรีดสำหรับไว้อาลัยผู้อาวุโส
พวงหรีดที่เหมาะสมกับการไว้อาลัยผู้อาวุโส ครูบาอาจารย์ คือพวงหรีดโทนสีม่วง เพราะเป็นสีแห่งเกียรติยศ ให้ความรู้สึกสุขุมแต่กลับหรูหราในเวลาเดียวกัน ในกรณีที่ผู้มอบพวงหรีดเป็นผู้อาวุโส เป็นผู้มียศตำแหน่งสูง หรือมอบในนามหน่วยงาน-บริษัท พวงหรีดโทนสีนี้สามารถเป็นตัวแทนความน่าเชื่อถือของผู้มอบได้เช่นกัน
4. พวงหรีดสำหรับไว้อาลัยทุกรูปแบบ
พวงหรีดที่เหมาะสำหรับการไว้อาลัยในทุกรูปแบบ คือพวงหรีดโทนสีขาวล้วน ถือเป็นสีพวงหรีดที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะดูสุภาพ บริสุทธิ์ และสำรวม จึงเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส หรือครูบาอาจารย์ที่ใกล้ชิด สนิทสนมกัน
5. พวงหรีดสำหรับไว้อาลัยทั่วไป
พวงหรีดที่เหมาะสำหรับการไว้อาลัยทั่วไป ได้แก่พวงหรีดโทนสีเหลือง – ส้ม – แดง หรือการใช้หลายสีสันรวมกัน โดยโทนสีสดใสเหล่านี้จะไม่เน้นการให้ความหมายที่ลึกซึ้งมากนัก แต่จะให้ความสำคัญในการแสดงความเสียใจและให้กำลังใจมากกว่า จึงเหมาะในกรณีมอบให้แก่ผู้วายชนม์ที่เป็นคนในครอบครัวของเพื่อนร่วมงาน หรือไม่ได้รู้จักสนิทสนมกันมากนัก
ลูกค้าสามารถสั่งพวงหรีดทุกแบบที่แนะนำได้ที่ร้าน Lewreath™ เลยค่ะ หรือสามารถสอบถามเพิ่มเติมเพื่อความมั่นใจในการส่งต่อความอาลัย เรายินดีให้บริการเช่นกันค่ะ
พวงหรีดที่นิยมใช้ในงานศพที่มักพบเห็นมากที่สุด คือ พวงหรีดดอกไม้สด เพราะความสวยงามจะช่วยบรรเทาบรรยากาศความเศร้าในงานศพให้คลายลงด้วย แต่ในปัจจุบันไม่ได้มีแค่พวงหรีดดอกไม้อย่างเดียว แต่มีพวงหรีดแนวใหม่แบบอื่น ๆ อีกด้วย เมื่อใช้งานเสร็จแล้วสามารถใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งมีดังนี้ค่ะ
1. พวงหรีดผ้า
พวงหรีดผ้าแต่ละชนิดทั้ง ผ้าขนหนู ผ้าห่ม ผ้าแพร ผ้านวม ถูกพับอย่างสวยงาม เป็นทรงดอกไม้ ทรงพาน ทรงดอกบัว ทรงนกยูง ฯลฯ และห่อด้วยพลาสติกพร้อมป้ายชื่อผู้ให้ติดอยู่ด้านหน้า บางอันอาจมีดอกไม้สดหรือดอกไม้แห้งประดับอยู่ด้วย เพื่อเพิ่มความสวยงาม แถมราคาถูก เมื่อใช้ในงานศพแล้วยังสามารถนำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ทางภาคเหนือในหน้าหนาวได้อีกต่อ
2. พวงหรีดพัดลม
พวงหรีดพัดลมมีความสวยงามไม่แพ้พวงหรีดอื่น ๆ ด้วยโครงร่างที่ใหญ่ทำให้โดดเด่นสะดุดตา สามารถนำดอกไม้สดหรือดอกไม้แห้งมาประดับให้สวยงาม พร้อมด้วยป้ายชื่อผู้ให้ แต่อาจจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่ขนาดของพัดลมสามารถเลือกได้ตามต้องการ เมื่อใช้เสร็จแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อภายในวัด หรือบริจาคตามโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น
3. พวงหรีดนาฬิกา
พวงหรีดนาฬิกาจะมีหลายขนาด หลายลวดลายแตกต่างกันไป จึงทำให้มีความแปลกใหม่ ใช้ดอกไม้สดหรือดอกไม้จันทน์ ดอกไม้ประดิษฐ์มาประดับตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม เมื่อสิ้นพิธีงานศพแล้ว เจ้าภาพสามารถนำไปบริจาคแก่วัด โรงเรียน หรือตามมูลนิธิต่าง ๆ แถมยังแฝงไปด้วยความหมายที่ดี มีนัยสื่อถึงธรรมชาติของเวลาและชีวิตที่ไม่มีวันหวนกลับ
พวงหรีดแนวใหม่เป็นอีกทางเลือกในการแสดงความอาลัยให้แก่ผู้เสียชีวิตที่ได้ประโยชน์สองต่อ เพราะเมื่อสิ้นพิธีงานศพแล้วสามารถนำใช้งานต่อได้ หรือบริจาคให้กับผู้ยากไร้ ซึ่งได้บุญทั้งผู้ให้และผู้รับ

งานศพ เป็นพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อแสดงความไว้อาลัย มอบความรักครั้งสุดท้ายต่อผู้ที่จากไป การจัดงานศพให้สวยงามสมเกียรติจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้เหมาะสมกับคุณงามความดีที่ผู้เสียชีวิตเคยทำมา การประดับประดาด้วยดอกไม้จึงเป็นที่นิยม เพราะดอกไม้แต่ละชนิดที่ตกแต่งอย่างประณีต ได้สอดแทรกไปด้วยความหมายที่ลึกซึ้ง มาดูกันว่าดอกไม้แต่ละชนิดให้ความหมายกันว่าอย่างไรบ้าง


Credit : www.suriyafuneral.com


Credit: wallpaper.dmc.tv
ดอกเบญจมาศ
ดอกเบญจมาศสีขาว สำหรับประเทศจีนแล้ว ให้ความหมายว่า “สัจจะ” หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ “ความจริงแท้” หากเป็นแถบยุโรปจะให้ความหมายว่า “ความตาย” เมื่อนำมาประดับในงานศพ จึงแฝงไปด้วยความหมาย ข้อคิดเตือนสติว่า “ความตาย คือ สัจจะที่มนุษย์ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้”


Credit: pixabay.com
ดอกเยอบีร่า
ดอกเยอบีร่า ในแง่ความรัก มักให้ความหมายว่า “ความรักที่มั่นคง ซื่อตรง” เมื่อนำมาประดับไว้ในงานศพ จึงเสมือน “การมอบความรักที่ซื่อสัตย์ และความจงรักภักดีให้ผู้ล่วงลับที่จากไปแล้วตลอดกาล”


Credit: pixabay.com
ดอกกุหลาบ
ดอกกุหลาบ มีความหมายเน้นเฉพาะในเรื่องรัก หลากสีสัน จึงมีหลายความหมาย แต่ถึงอย่างไร เมื่อนำมาประดับไว้ในงานศพ ก็สามารถเป็นตัวแทนบอกเล่าความรู้สึก ความรักอันงดงามที่มอบให้ดวงวิญญาณได้เช่นกัน


Credit: pixabay.com
ดอกไฮเดรนเยีย
ดอกไฮเดรนเยีย มีความหมายสั้น ๆ ว่า “ขอบคุณ” จึงมักคุ้นตาในพิธีวิวาห์ ที่บ่าวสาวกำลังขอบคุณกันและกันนั่นเอง แต่เมื่อมาอยู่ในงานศพ ก็จะให้ความหมายอีกหลายรูปแบบ คือ “ขอบคุณความรักที่หยิบยื่นให้กัน” “ขอบคุณมิตรภาพอันสวยงามที่น่าจดจำ” และ “ขอบคุณชีวิตที่ให้โอกาสเรามาพบกัน”


Credit: pixabay.com
ดอกคาร์เนชั่น
ดอกคาร์เนชั่น อาจเป็นสัญลักษณ์แห่งการเฉลิมฉลอง ซึ่งบางสีจะให้ความหมายในเชิงความรักสดใสของคู่รัก แต่เมื่อประดับในงานศพ ก็สามารถเป็นตัวแทนแสดงความโศกเศร้า แต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถปลอบประโลม และมอบกำลังใจให้ยืนอยู่ได้จากการสูญเสีย


Credit: pixabay.com
ดอกหน้าวัว
ดอกหน้าวัว ให้ความหมายหม่นหมอง เพราะเป็นตัวแทนแห่ง “หญิงสาวผู้เหงาเศร้า แต่หยิ่งทะนงในศักดิ์ศรี” แต่ในแง่ของความรักแล้ว จะให้ความหมายว่า “ความรักที่มั่นคงและอดทน” เมื่อนำมาตกแต่งในงานศพก็สามารถเป็นตัวแทนความรักที่มอบให้ได้เช่นกัน


Credit: pixabay.com
ดอกกล้วยไม้
ดอกกล้วยไม้ เราอาจพบเห็นกันบ่อยครั้งในการนำมาบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามวัด แต่ในแง่ของความหมายนั้น คือ “ความรักที่สง่างาม ความประเสริฐ” หรือบอกเป็นภาษารักได้ว่า “ฉันไม่สามารถหยุดคิดถึงเธอได้” เมื่อนำมาประดับในงานศพแล้ว สามารถแสดงถึงความคิดถึง การระลึกถึงที่มีต่อดวงวิญญาณ


Credit: sierraflowerfinder.com
ดอกสแตติส
ดอกสแตติส เป็นตัวแทนของความรู้สึกดี ๆ ที่จะยังคงอยู่ตลอดไป เมื่อนำมาประดับไว้ในงานศพ ก็สามารถเป็นตัวกลางสื่อความหมายได้ว่า ครอบครัว ญาติ และเพื่อนของผู้ล่วงลับจะเก็บความทรงจำ ความรู้สึกดี ๆ ที่เคยมอบให้กันตลอดไป


Credit: pixabay.com
ดอกลิลลี่
ดอกลิลลี่ เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา อ่อนหวาน และแต่ละสีก็ให้ความหมายในเรื่องความรักหลากหลายรูปแบบกันไป แต่ถึงอย่างไรก็สามารถนำมาประดับไว้ในงานศพได้เช่นกัน เพราะด้วยความร่าเริง สดใสของดอกลิลลี่ จะช่วยบรรเทาความโศกเศร้าได้
จะเห็นได้ว่าดอกไม้แต่ละชนิด แต่ละสี อาจให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไปตามความเชื่อของแต่ละเชื้อชาติ หากท่านต้องการความมั่นใจในการเลือกสรรดอกไม้ให้เหมาะสมกับพิธีงานศพ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ร้านส่งพวงหรีด LeWreath™ เราเต็มใจ และยินดีให้คำแนะนำแก่ทุกท่าน