truck
ส่งฟรีทั่วกทม. และนนทบุรี (จังหวัดอื่น ๆในปริมณฑลมีค่าส่งเพิ่มเติม)
คำค้นหายอดนิยม
พวงหรีดดอกไม้สด
พวงหรีดพัดลม
พวงหรีดต้นไม้
พวงหรีดผ้า
สินค้าที่กำลังได้รับความสนใจ
ไตรทิพย์ 1
ไตรทิพย์ 3
มาหยารัศมี 5
รับข่าวสาร
และสิทธิพิเศษก่อนใคร
Logo Cart0
คำค้นหายอดนิยม
พวงหรีดดอกไม้สด
พวงหรีดพัดลม
พวงหรีดต้นไม้
พวงหรีดผ้า
สินค้าที่กำลังได้รับความสนใจ
ไตรทิพย์ 1
ไตรทิพย์ 3
มาหยารัศมี 5

4 ธรรมเนียมที่หายไป ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

line linkfacebook linktwitter linkmail link
4 ธรรมเนียมที่หายไป ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
4 ธรรมเนียมที่หายไป ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
lifestyle.campus-star.com

พระราชพิธีพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ แน่นอนว่าเป็นพิธีที่สำคัญและค่อนข้างมีความซับซ้อน แต่สำหรับในอดีตมีความซับซ้อนยิ่งกว่า แต่เมื่อเวลาผ่านไป ธรรมเนียมใหม่ ๆ จากตะวันตกก็เริ่มเข้ามา พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงและยกเลิกหลายธรรมเนียมในพระราชพิธีพระบรมศพ ซึ่งธรรมเนียมดั้งเดิมที่พอสืบค้นพอสรุปได้ดังนี้

1. โกนผม

ธรรมเนียมโกนหัวไว้ทุกข์
lifestyle.campus-star.com

ธรรมเนียมนี้เกิดขึ้นในยุคสมัยอยุธยา เชื่อกันว่าสืบทอดมาจากธรรมเนียมประเพณีของอินเดีย ที่มักจะโกนหัวเมื่อญาติผู้ใหญ่หรือมูลนายเสียชีวิต แต่เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ประชาชนจึงต้องโกนผมเพื่อไว้ทุกข์ แต่ได้ถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ตามประกาศของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ความว่า

มีรับสั่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งได้สำเร็จราชการแผ่นดิน ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า สมเด็จพระบรมชนกนารถ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรพระโรคพระธาตุพิการมาแต่ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พระโรคกลายไปในทางพระวักกะพิการ แพทย์ได้ประกอบพระโอสถถวาย พระอาการหาคลายไม่ ถึง วันเสาร์ ที่ ๒๒ ตุลาคม เสด็จสวรรคต เวลา ยาม กับ ๔๕ นาที จะได้เชิญพระบรมศพสู่พระโกษฐ์แห่จากพระราชวังดุสิต ไปประดิษฐานไว้ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม

ความเศร้าโศรกสาหัสอันบังเกิดขึ้นในพระบรมราชวงษ์ครั้งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงแน่ในพระหฤทัยว่า จะเปนความเศร้าโศรกแก่ประชาชนทั้งหลายทั่วไปในพระราชอาณาจักร เพราะเหตุที่สมเด็จพระบรมชนกาธิราชได้ทรงพระกรุณาทนุบำรุงมาทั่วกัน

อนึ่งตามโบราณราชประเพณี ในเวลาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จสวรรคต พระบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการ ราษฎรทั้งหลายต้องโกนผมแทนการไว้ทุกข์ทั่วทั้งพระราชอาณาจักร แต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนารถ ได้ทรงมีพระราชดำรัสสั่งไว้ว่า การไว้ทุกข์ดังเช่นที่กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมเปนเครื่องเดือดร้อนอยู่เป็นอันมากให้ยกเลิกเสียทีเดียว

          ประกาศมา ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙”


พวงหรีดแนะนำอื่น ๆ

Loading...
Loading...
Loading...

2. นุ่งขาว นุ่งน้ำเงิน

ธรรมเนียม นุ่งขาว นุ่งน้ำเงิน
lifestyle.campus-star.com

แต่เดิมแล้วการแต่งกายไว้ทุกข์ของไทยในสมัยก่อน ไม่ได้มีเพียงแค่สีดำเท่านั้น ในพระราชนิพนธ์ของ ‘ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล’ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์ที่ชื่อ ‘สีไว้ทุกข์ในสมัย ร.5’ ว่าแต่เดิมแล้ว ‘สี’ ของเครื่องแต่งกายสำหรับไว้ทุกข์มี 3 สี

สีดำ : สำหรับผู้ไว้ทุกข์ที่แก่กว่าหรือมีศักดิ์ที่สูงกว่าผู้ตาย

สีขาว : สำหรับผู้ไว้ทุกข์ที่มีอายุน้อยกว่าหรือมีศักดิ์ที่ต่ำกว่าผู้ตาย

สีม่วงหรือสีน้ำเงิน : สำหรับผู้ไว้ทุกข์ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับผู้ตาย

สำหรับพระราชพิธีพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ราษฎรจะต้องนุ่งขาวห่มขาวทั้งหมดเพื่อไว้ทุกข์ และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้ยกเลิกการแต่งกายสีม่วงและสีน้ำเงินไปเพื่อตัดความยุ่งยาก แต่การไว้ทุกข์ให้พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นยังคงใช้สีขาว แต่ในปัจจุบันการแต่งกายไว้ทุกข์ของไทยจะเน้นสีดำมากกว่าขาวล้วน เพราะเป็นธรรมเนียมที่ใช้ตามหลักสากลแบบตะวันตก

3. นางร้องไห้

ธรรมเนียมนางร้องไห้
lifestyle.campus-star.com

นางร้องไห้เป็นธรรมเนียมเก่าแก่ที่พบได้ทุกวัฒนธรรมทั่วโลก เช่น จีน อินเดีย มอญ กรีก โรมัน ออสเตรเลีย และไทย จะมีเฉพาะในงานพระบรมศพของราชวงศ์ชั้นสูง สำหรับพระมหากษัตริย์ นางร้องไห้มักจะเป็นท้าวนาง เจ้าจอม หรือนางข้าหลวงที่เสียงดีและหน้าตางดงาม

วิธีการร้องไห้ต้องใช้คนจำนวนมาก มีต้นเสียง 4 คน และมีคู่ร้องรับประมาณ 80-100 คน ครั้งสุดท้ายที่มีนางร้องไห้ ตามราชประเพณีคืองานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

แต่ก็ต้องถูกยกเลิกไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกไว้ในหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ 6 เกี่ยวกับนางร้องไห้ว่า “ให้รู้สึกรกหูเสียจริง ๆ และร้องซ้ำไปซ้ำมา ไม่เป็นการร้องไห้จริง ๆ กับทั้งยังส่งเสียรบกวนเวลาที่พระกำลังถวายพระธรรมเทศนา” ท่านจึงบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า “ถึงงานศพฉันขออย่าให้มีนางร้องไห้เลย” เมื่อสวรรคต ด้วยความไม่เหมาะสมหลายประการจึงทำให้ธรรมเนียมนี้ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย


4. การถวายรูด-ถวายพระเพลิงพระบุพโพกลางแจ้ง

การถวายรูด-ถวายพระเพลิงพระบุพโพกลางแจ้ง
lifestyle.campus-star.com

ในสมัยก่อนวิทยาการการแพทย์และการเผาศพยังไม่ทันสมัยนัก ไม่มีน้ำยารักษาสภาพศพ การจัดพระบรมศพให้สมเกียรติจึงมีขั้นตอนซับซ้อน ต้องมีการสุมเครื่องหอมดับกลิ่นพระบุพโพ (น้ำเหลืองน้ำหนอง) ตลอดงาน และต้องเจาะช่องบรรจุถ้ำเก็บพระบุพโพใต้ฐานพระโกศที่ประดิษฐานพระบรมศพ และมีมหาดเล็กคอยเทพระบุพโพตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาถวายพระเพลิง ก็ต้องเคี่ยวพระบุพโพในกระทะใบบัวแยกกับการถวายพระเพลิงบนพระเมรุ เป็นที่เล่าขานกันว่ากลิ่นการถวายพระเพลิงพระบุพโพนั้น เหม็นอย่างร้ายกาจ

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกเลิกการถวายพระเพลิงพระบุพโพกลางแจ้งด้วยวิธีการเคี่ยว แต่เปลี่ยนเป็นนำพระบุพโพบรรจุในลองเหล็กกล้าประดิษฐานใต้พระพุทธชินราชจำลองในวัดเบญจมบพิธแทน และใช้วิธีเผาในเตาเผาแบบสมัยใหม่

การถวายรูดก็ถูกยกเลิกไปเช่นเดียว เพราะเริ่มมีการฉีดฟอร์มาลีนทำให้พระมังสาแห้งติดกับพระบรมอัฐิ ไม่จำเป็นต้องชำระ ซึ่งถวายรูดหมายถึงการสำรอกเนื้อหนังมังสา เส้นเอ็นจากกระดูกโดยการต้มเคี่ยวเพื่อชำระ เตรียมการถวายพระเพลิงพระบรมศพ การถวายรูดครั้งสุดท้ายมีในงานพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

Instagram
หน้าหลัก
Instagram
ดูพวงหรีด
Instagram
ตะกร้า

รับสิทธิพิเศษก่อนใครเพียงสมัครสมาชิก